แว่นกันแดด(Sunglasses)

แว่นกันแดด ไม่ใช่แค่ตามกระแสแฟชั่นเท่านั้น แต่ยังช่วยปกป้องดวงตาของเราจากแสงแดด และรังสี UV ซึ่งโดยทั่วไปเรามักจะรู้ถึงอันตรายจากแสงแดดที่ทำร้ายผิว แต่รู้หรือไม่ว่า แสงแดดและรังสี UV เป็นอันตรายต่อดวงตาด้วยเช่นกัน ดังนั้นการเลือกซื้อแว่นกันแดดที่ดีมีคุณภาพ ถือว่ามีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อครั้งต่อไปควรพิจารณาจากคุณสมบัติพื้นฐานของแว่นกันแดดก่อนตัดสินใจคุณสมบัติพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนพิจารณาเลือกซื้อแว่นกันแดด ประกอบด้วย 1. ความสามารถในการป้องกันหรือดูดซับรังสีอุลตร้าไวโอเลต หรือ UV              รังสีอุลตร้าไวโอเลตหรือรังสี UV เป็นรังสีที่มองไม่เห็นประกอบด้วยรังสี UVA, UVB และUVC ซึ่งแตกต่างกันไปตามความยาวคลื่น ที่มีในแสงแดดจะประกอบด้วยรังสี UVA 90% และUVB 10% ส่วน UVC จะถูกกั้นด้วยบรรยากาศชั้นโอโซน ทำให้ไม่ผ่านมาถึงผิวโลก             นอกจากนี้ยังมีในแสงที่มาจากงานอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น แสงที่เกิดจากการเชื่อมเหล็ก โคมไฟฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น รังสี UVนี้จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคตาหลายอย่าง เช่น ต้อลม,ต้อเนื้อ, กระจกตาอักเสบ,ต้อกระจก (Cataract) และโรคจอประสาทตาเสื่อม ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงจากแสงอุลตร้าไวโอเลตโดยเฉพาะในแสงแดดซึ่งต้องเจอในชีวิตประจำวันโดยการสวมแว่นตากันแดดป้องกันตามมาตรฐานของแว่นตากันแดด วัสดุที่ใช้ทำเลนส์จะต้องมีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันรังสี UVB ได้อย่างน้อย 70% และรังสี UVA ได้อย่างน้อย 60% สำหรับวัสดุที่นำมาใช้ทำเลนส์แว่นตากันแดดมีด้วยกันหลายชนิด เช่น วัสดุประเภท polycarbonate มีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันรังสี UV ได้ 99 % ส่วนวัสดุที่เป็นพลาสติก(CR-39) และกระจกจะมีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี UV เพิ่มขึ้นได้โดยการเคลือบสารเคมีลงบนผิววัสดุ 2.สีเลนส์แว่นตากันแดดการเลือกสีของเลนส์แว่นตาให้เหมาะสมกับกิจกรรมหรืองานที่ทำของแต่ละบุคคล มีส่วนช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น สีเทา(gray) , สีเขียวอมเทา  ลดความเข้มของแสง โดยไม่ทำให้สีของวัตถุผิดเพี้ยน สีน้ำตาล(brown) ช่วยเพิ่มความสามารถการมองแยกแยะรายละเอียดของวัตถุในที่สว่างได้ดีมาก(very high contrast) เหมาะสำหรับเมื่อต้องการมองแยกวัตถุต่างๆได้ชัดเจน แต่จะทำให้สีของวัตถุเพี้ยนไป สีอำพัน(amber) ช่วยให้มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ดีขึ้น ป้องกันแสงสีฟ้า(blue light) ที่เป็นอันตรายต่อจอประสาทตา เหมาะสำหรับนักบิน คนขับเรือ นักยิงปืน นักสกี สีเหลือง(yellow) ช่วยให้มองแยกรายละเอียดของวัตถุ(contrast)ได้ดีขึ้น แต่ทำให้สีของวัตถุดูกระด้าง สีชมพู(pink), สีแดง(red) เหมาะสำหรับคนที่มีกล้ามเนื้อตาล้าจากการใช้คอมพิวเตอร์ แต่ก็ทำให้สีเพี้ยนไปด้วย สีแดงชาด(vermillion) ช่วยให้มองแยกส่วนที่เป็นน้ำออกจากวัตถุอื่นๆได้ดี แต่ทำให้วัตถุมีสีผิดเพี้ยนมากที่สุด สีฟ้า(blue) ช่วยให้มองเห็นวัตถุที่มีสีขาวเช่น หิมะ ได้ดี แต่ก็ทำให้สีอื่นเพี้ยน วิธีการเลือกซื้อแว่นกันแดด•    ตรวจสอบที่คุณสมบัติของแว่นกันแดดมองหาป้ายรับรองที่ติดมากับแว่นกันแดดที่บอกไว้ว่าสามารถป้องกัน UV ได้ 99 หรือ 100 เปอร์เซ็นต์*•    เลือกแว่นกันแดดที่สวมใส่ได้พอดี เพื่อให้การกรองแสง UV และปกป้องรังสี UV มีประสิทธิภาพมากขึ้น•    เลือกแว่นกันแดดที่มีพื้นที่เลนส์แว่นกันแดดมีขนาดใหญ่เพียงพอต่อการปกป้องดวงตาจากแสงสว่างที่จะผ่านเข้ามาได้•    แว่นกันแดดมักจะมีราคาสูงกว่า สะท้อนให้เห็นถึงแฟชั่นหรือความทนทานไม่ใช่คุณภาพของการปกป้องกันรังสียูวี•    แว่นกันแดดที่มีสีเข้ม ไม่ใช่จะให้การปกป้องดวงตาได้ดีกว่า แว่นกันแดดที่ดีขึ้นอยู่กับสารปกป้อง UV ที่เคลือบอยู่บนเลนส์เป็นหลัก ไม่ใช่สีของเลนส์•    คอนแทคเลนส์ที่ปกป้องแสง UV ไม่สามารถใช้ทดแทนแว่นกันแดดได้             *ในทางปฏิบัติ ป้ายที่เขียนว่า “block UV” นั้นไม่ได้ระบุชัดเจนว่าป้องกันรังสี UV ได้เท่าใด สำหรับป้ายที่เขียนว่า “UV protection

Read More →

แว่นกันแดด….ถนอมดวงตา

แสงแดดถึงจะมีคุณอนันต์ แต่ก็มีโทษมหันต์ โดยเฉพาะกับดวงตา ซึ่งมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่สามารถป้องกันแสงอุลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดดได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ “แว่นกันแดด” แว่นกันแดดที่ดีจะต้องเป็นแว่นที่สามารถป้องกันแสงอุลตราไวโอเลตไม่ให้ผ่านเข้ามากระทบดวงตา ซึ่งในแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังพื้นโลก มีทั้งแสงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และแสงคลื่นสั้นที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าที่เรียกกันว่า แสงอุลตราไวโอเลต หรือที่เรียกกันว่า คลื่นแสงยูวี ซึ่งมีความยาวคลื่นต่ำกว่า 400 nm แบ่งได้เป็น แสงยูวีเอ, แสงยูวีบี และแสงยูวีซี แต่มีเพียงแสงยูวีเอและแสงยูวีบีเท่านั้นที่สามารถผ่านมายังผิวโลก ซึ่งมีอันตรายต่อมนุษย์มากเช่นกัน ทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ต้อเนื้อ ต้อกระจก จอประสาทเสื่อม ฯลฯ แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานจึงต้องสามารถป้องกันรังสียูวีเอได้อย่างน้อยร้อยละ 80 หรือยอมให้แสงยูวีเอผ่านเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือในการตรวจวัด โดยปกติแว่นกันแดดทั่วไปสามารถป้องกันรังสียูวีได้เล็กน้อย เช่น       –  เลนส์พลาสติก ซึ่งป้องกันแสงยูวีได้ดีกว่าเลนส์แก้ว       –  เลนส์ที่ระบุว่าสามารถป้องกันรังสียูวีได้ น่าจะป้องกันแสงยูวีได้ดีกว่าเลนส์ที่ไม่ได้มีการระบุไว้       –  แว่นกันแดดที่เป็น Polarized Lens เป็นเลนส์ที่ตัดแสงจ้าได้ดี ทำให้ผู้ใช้สบายตา แต่ก็สามารถกรองแสงยูวีได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในการเลือกแว่นกันแดดครั้งต่อไป อย่าลืมนำเคล็ดลับเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการเลือกซื้อ และอย่าลืมว่า…แว่นกันแดดที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ผศ.พญ.วิภาวี บูรณพงศ์,  รายการโทรทัศน์ พบหมอศิริราช “อุ่นใจเมื่อให้ทิพยประกันภัยคอยดูแลคุณ” ซื้อประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่

วิธีเลือกซื้อแว่นกันแดด

ใครที่กำลังมองหาแว่นกันแดดสักอันมาใส่ วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีวิธีเลือกซื้อแว่นกันแดดมาฝาก…           แว่นกันแดดจะช่วยกรองแสงให้ดวงตารู้สึกสบายขึ้น และปกป้องดวงตาจากอันตรายของแสงแดดจ้าได้ การเลือกซื้อแว่นกันแดด จึงควรดูที่ฉลาก CE ที่กำกับแว่นว่าสามารถป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้หรือไม่ เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตทั้งสองชนิดนี้ต่างก็ทำลายนัยน์ตา UVB นั้นจะดูดซึมที่แก้วตา แต่ถ้ารับแสงจ้านานเกินควร อาจจะทะลุไปที่จอรับภาพได้ ส่วน UVA จะดูดซึมเข้าไปได้ลึกกว่า ดังนั้นการเลือกแว่นกันแดดคุณภาพดี จึงเปรียบเสมือนทาครีมกันแดดชั้นดี ให้แก่ดวงตา            รูปทรงของแว่นแว่นกันแดดที่มีขนาดใหญ่ทรงโค้งมน จะปกปิดดวงตาได้ดีทีเดียว แว่นกันแดดที่มีขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียวแต่ไม่โค้งมนจะทำให้ดวงตาสัมผัสต่อแสงมากเป็น 3 เท่าของแว่นทรงโค้งมนเลยทีเดียว นอกจากนี้แว่นกันแดดทรงโค้งมนจะไม่ตกหล่นง่ายเวลาใส่อีกด้วย            สีของเลนส์          แว่นกันแดดสำหรับกีฬาส่วนใหญ่จะป้องกันรังสี CVB ได้ 99 % และป้องกันรังสี UVAได้ 60 % แต่ก็อย่าเพิ่งแน่ใจ ควรจะตรวจสอบจากฉลากอีกทีหนึ่ง สำหรับสีของเลนส์นั้น สีเลนส์ที่ดีและเหมาะที่จะใช้คือสีเทา-ดำ และเขียว-ดำ หากอยู่บริเวณชายหาด สีเลนส์ที่เหมาะจะใช้คือสีชา-น้ำตาล หรือเทา ส่วนเลนส์สีเหลืองไม่เหมาะจะใส่เวลาขับรถ เพราะมันจะทำให้เห็นสีไฟจราจรไม่ชัดเจนระหว่างไฟแดง และไฟเขียวได้            ความพอดีของเลนส์กับขอบแว่น           เมื่อเลือกแบบแว่นกันแดดได้แล้ว ก็ควรจะดูว่าขอบของเลนส์ฟิตพอดีกับแว่นหรือไม่ โดยการลองใส่แล้วเดินไป-มา ขึ้น-ลงบันได ให้แน่ใจว่ามันจะไม่เลื่อนหลุดออกมาจากตัวแว่นจริง ๆ หรือจะใช้วิธีจับแว่นตาไว้ แล้วดูในแนวตั้งและแนวนอนว่าขอบเลนส์ออกมานอกกรอบแว่นหรือไม่ ถ้าจะซื้อแว่นกันแดด ก็อย่าลืมนำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติตามกันได้.